วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มีดอรัญญิก ของดี นครหลวง






ถ้าหากกล่าวถึง "มีด"แล้วนั้นในเมืองไทยก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก"มีดอรัญญิก"  แน่นอน ชื่อเสียงในเรื่องความคงทน แข็งแกร่ง ทนทาน ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนให้การยอมรับจนถึงทุกวันนี้      
นับเวลาย้อนถอยไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน อาชีพตีมีดของชาวบ้านต้นโพธิ์ไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รู้จักกันในนามมีด “อรัญญิก”  ม่สามารถระบุได้ชัดว่าคนบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง เริ่มตีมีดเพื่อการสงครามหรือว่าเพื่อการค้าขายกันแน่
         มีประวัติพอสังเขปว่าชาวบ้านดั้งเดิมของบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง นั้นเป็นคนเวียงจันทร์ที่อพยพมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 2 เนื่องจากในขณะนั้น เวียงจันทร์เกิดทุกข์เข็ญ ข้าวยากหมากแพง มีโจรผู้ร้ายชุกชุม “นายเทา” หรือ “ขุนนราบริรักษ์” (ได้รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ) จึงเป็นผู้นำครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาได้เดินทางมาพบภูมิประเทศเเห่งนี้ เป็นที่เหมาะสมเเก่การประกอบอาชีพคือ เดิมเป็นดงไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่หนาเเน่น มีหนองน้ำและแม่น้ำป่าสักไหลผ่านสมัยนั้นไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยทางน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการคมนาคมโดยเฉพาะ ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่สำคัญมากสำหรับช่างตีมีด เพราะไม้ไผ่มีประโยชน์อยู่ในตัวของมันนานับประการ เช่น นำมาเผาถ่านใช้เผาเหล็ก เพราะถ่านไม้ไผ่ให้ความร้อนสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ต้น ลำ ใช้ทำบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ทำด้ามพะเนิน ด้ามค้อนเเละด้ามมีด ซึ่งช่างตีเหล็กต้องใช้อยู่เป็นประจำ จึงเห็นว่าภูมิประเทศเเห่งนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเเหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์จึงพร้อมใจกันลงหลักปักฐานเเละได้ประชุมหารือกันตั้งชื่อบ้านของตนว่า “ บ้านไผ่หนอง” โดยนำวิชาช่างสิบหมู่ คือ ช่างทอง ช่างตีมีด ติดตัวกันมาด้วย เพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพทำทองรูปพรรณ เช่น ทำสร้อยข้อมือ แหวน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนว่าจ้างมาครั้นต่อมาในราวพ.ศ. 2365เศรษฐกิจของคนทั่วไปไม่สู้ดีนัก การสั่งทำเครื่องทองรูปพรรณน้อยลง  อาชีพช่างทองก็ได้เลิกลาสลายตัวไป คงเหลือเเต่อาชีพตีมีดประเภทเดียว ชาวบ้านจึงยึดอาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลัก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นปะปนเลย ข้อสังเกตุที่เป็นหลักฐานว่าชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้มีอาชีพช่างทองคือ ถ้าเรานำดินที่ชุมชนเเห่งนี้ลงร่อนในน้ำก็จะพบเศษทองและขี้ตะไบทองอยู่ทั่วไป“นายเทา และครอบครัว” จึงหันมาตีมีดเป็นอาชีพหลักมากขึ้น เรื่อยมาถึงทุกวันนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น